องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโรงเรียนประชาธิปไตยและต้นแบบการกระจายอำนาจ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโรงเรียนประชาธิปไตยและต้นแบบการกระจายอำนาจ

 

                   ตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรื่อยๆมาเป็นหน่วยงานที่ทุกคนในประเทศต้องติดต่อการงานตั้งแต่เกิดจนตาย จนอาจจะเรียก ได้ว่าได้สร้าง ขนบ ธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมในการติดต่อราชการของคนในสังคม ไทยขึ้นมาซึ่งในแต่ก่อนนั้น ประชาชนยังไม่ค่อยมีความรู้นักก็ยอมทำทุกอย่างตามเงื่อนไข ที่ระบบราชการกำหนดมาเพื่อให้ตัวเองได้รับความสะดวกที่สุดในการติดต่อ และตัวราชการเองยังเป็นองค์กร ที่ให้คุณและโทษต่างๆได้ ประชาชนต้องรับฟังและทำตามอย่าง ไม่มีข้อแม้ แม้กระทั่งคนบางกลุ่มเองได้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาเพื่อการติดต่อได้สะดวกง่ายดาย และเมื่อมีคนซัพพอร์ทราชการทั้งคน องค์กรเองก็รู้สึกตนมีอำนาจ บารมี ความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งได้รางวัลต่างๆเรียกได้ว่าแฮปปี้กันทั้งหมด

ตั้งแต่ปี 2538 เอาตรงนี้แล้วกันถือว่ามีการเกิดขึ้นของรูปแบบการกระจายอำนาจคือ อบต.เกิดขึ้นทั่วประเทศ ( ก่อนหน้านั้นไม่นับ ทั้งที่มีความพยายาม/ ลองตัวอย่างและสร้างรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบต่างๆขึ้นมา ) อย่างจริงจังและเป็นรูปเป็นร่างที่สุดประจวบเหมาะกับ 2 ปีให้หลัง ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งได้มีบทบัญญัติใน หมวดของท้องถิ่นขึ้นมาครั้งแรกเพื่อให้ หลักการของการกระจายอำนาจได้เกิดขึ้นจริงๆ และมีมรรคผล โดยมีกฎหมายรองรับจริงๆ และได้ออกกฎหมายลูกมากมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถือได้ว่า ได้มีการเปิดพื้นที่ให้กับการกระจายอำนาจอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย

 

หลาย ๆองค์กรเองได้ขานรับการกระจายอำนาจดังกล่าว เพราะการปกครองที่ถือกันว่า เลวน้อยที่สุด (ไม่ใช่ดีที่สุด ) คือการปกครองระบบอบประชาธิปไตย เพราะสามารถมีการ ใช้อำนาจผ่านตัวแทน และมีการตรวจสอบได้ และความเชื่อดังกล่าวก็มีการยองรับกันทั่วโลกว่า การปกครองในการบริการจัดการสาธารณะ(Public services ) ที่ประเทศเจริญแล้วคือการปกครองที่มีท้องถิ่น ( decentralization )นั่นเอง

ประเทศไทยเองก็ตะหนักในข้อนี้ดีก็เลยรับหลักการการกระจายอำนาจนี้มาเพื่อให้การบริการสาธารณะ ที่ให้บริการประชาชน เป็นหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้ามาดูแลและบริหารจัดการกันเอง เพื่อจะได้เข้าใจรับทราบปัญหา และแก้ไขกันเองได้อย่างถูกต้อง และตรงประเด็น โดยมีการสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบการให้เงินอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจัดสรรภาษี และจัดสรรเงินอุดหนุนต่างๆ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถให้บริการด้านสาธารณะกับประชาชนในพื้นที่ได้

 

แต่ในบริบทการปกครองในประเทศไทยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นว่าเรามีการปกครองแบบรวมศูนย์ ( centralization ) มายาวนาน ซึ่งหน่วยงานภูมิภาคเองยังยึดติดว่าตัวเองยังเป็นผู้บังคับบัญชา สั่งการท้องถิ่นอยู่โดยลืมนึกไปได้ว่า ตัวท้องถิ่นเองนั้น โดยหลักการ และลักษณะของกฎหมายเองนั้น มีตัวแทนที่มาจากประชาชนที่มาดูแลงานใด้านนโยบาย และมีข้าราชการเอง ( ซึ่งสังกัดท้องถิ่น รับเงินเดือนและขั้นเงินเดือนจากท้องถิ่น )อาจจะยังเคยชินหรือ ไม่อยากเสียอำนาจที่ตนเองเคยมี ท้องถิ่นโตมาก = ควบคุมยาก/ ท้องถิ่นเข้มแข็ง = สั่งไม่ได้ จะเป็นสมการใดก็แล้วแต่ทำให้ ข้าราชการส่วนภูมิภาคทั้งอำเภอและจังหวัดเองไม่ยอมรับการมีอยู่( ตามอำนาจที่ อปท.ควรมีและต้องมี ) ทำให้การทำงานที่ผ่านมายังคงเห็น การโตของภูมิภาคอย่างเดิม ทั้งๆที่งานและภารกิจส่วนมากลงไปท้องถิ่นแล้ว ซึ่งมีงานและข้อเสนอของนักวิชาการหลายสำนักเห็นว่าควรยุบภูมิภาค เพราะซ้ำซ้อนกับท้องถิ่น หรือควรลดบทบาทลงเพราะงานบริการสาธารณะ เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นทำอยู่แล้วถ้าอยากให้การทำงาน บริการสาธารณะเข้มแข็งต้องให้ท้องถิ่นเข้มแข็งด้วย ( สังเกตไหม ผมใช้คำว่าบริการสาธารณะ เสมอ ) เพราะงานพวกนี้ไม่ใช่หน้าที่ของภูมิภาคเลยซึ่งส่วนกลางเองมองอะไรเป็น การเมืองหมดการสั่งการผานภูมิภาคจะง่ายกว่า รวมถึงจะโอนงบประมาณให้ท้องถิ่นเยอะๆ ตัวเองก็ไม่มีงบประมาณในการหาเสียงทางการเมืองซึ่งจะเห็นได้จากการแก้ พรบ.แผน ฯปี 42 เรื่องการกำหนดสัดส่วนการถ่ายโอนเงินให้ อปท.ทำให้อำนาจภูมิภาคยังคงดำรงอยู่ได้ในกระแสการกระจายอำนาจ แบบนี้ประเด็นต่อมาคือตัวท้องถิ่นเอง คือตัวแทน ( Representative )ที่ประชาชนเลือกมาทั้งฝ่ายบริหาร และ สภาท้องถิ่น ไม่เข้าใจบทบาทตัวเองในการใช้อำนาจให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจหรืออาจจะมีอยู่บ้าง แต่ก็มีบางส่วนอีกที่ต้องการมีอำนาจโดยอาศัยอำนาจภูมิภาค เช่น อำเภอและจังหวัด เพื่ออ้างความชอบธรรมว่าเป็นพวกพ้องกัน เพราะตัวเองมาจากประชาชน เลยต้องพยายามทำให้เหนือกว่าชาวบ้าน โดยลืมนึกไปว่าอำนาจที่ประชาชนมอบให้นั่นแหละใหญ่ที่สุด แล้วต้องและพยายามรักษาไว้ให้ดีที่สุดไม่ใช่ว่า ตามอำนาจแฝงที่เข้าหาภูมิภาค

 

ที่กล่าวมานี้ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องเข้าใจในหน้าที่ตนเอง เพราะโดยรูปแบบ เนื้อหา ( Content ) ของตัวมันเอง เป็นหลักการประชาธิปไตยล้วนๆ ทั้งมีตัวแทนมากำหนดนโยบาย ซึ่งภูมิภาคไม่มีการจัดเก็บราย ได้ด้วยตนเองและไม่ได้ให้บริการสาธารณะหน่วยงานอื่นๆจะได้มองและเห็นว่าการกระจายอำนาจนั้นเป็นอย่างไร เพราะเวลานี้ทางภูมิภาคที่ถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่นบริหารงาน เช่น สปสช.และหน่วยงานอื่นๆ พยายามบอกว่าการกระจายอำนาจต้องเป็นแบบนี้นะ ต้องทำอย่างนี้ ต้องฟังภูมิภาคแบบนั้น ซึ่งตัวผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากชาวบ้านบางส่วนก็ เชื่อแบบนั้นจริงๆโดยหารู้ไม่ว่าตัวสาระและเนื้อหา ตั้งแต่การมีตัวแทนมาจากประชาชน การให้สภาตรวจสอบการทำงาน ( Check and Balance ) การรับฟังปัญหาเพื่อมาจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณและอีกสารพัดขั้นตอนที่ประชาชนเข้ามาตรวจสอบได้ นั่นแหละถือว่าเป็นการกระจายอำนาจจริงๆ เป็นต้นแบบประชาธิปไตยเป็นตัวอย่างให้ภูมิภาคหันกลับมามองว่า การกระจายอำนาจคือแบบนี้และหยุดมาชี้นำและสั่งการได้แล้ว แต่ถ้าตัวแทนจากประชาชนเองยังไม่รู้จัก เนื้อหา ของการปกครองส่วนท้องถิ่น / ต้นแบบการกระจายอำนาจ และโรงเรียนประชาธิไตย ก็ยังเป็นโรงเรียนที่นักเรียนที่เป็นตัวแทนประชาชนยังเรียนตกซ้ำชั้นเรื่อยไป

 

สายสิทธิ์ ไท้ทอง

ประธานชมรมปลัด อบต.จ.อุบลราชธานี / ก.อบต.จ.อุบลราชธานี

 เขียนโดย Administrator วันศุกร์ที่ 09 พฤศจิกายน 2012 เวลา 15:08 น.