เพราะอัตตาจึงมีตัวตน

มองต่างมุม ต่างมุมมอง ใช่แตกต่าง

 

.............

                         

-->> การทำงานขององค์กรชาวท้องถิ่นตอนนี้มีมากมายและนับวันที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติในกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ

แต่ที่พอเห็นหลักๆตอนนี้ก็ที่บอกปั๊บก็รู้เลยก็น่าจะเป็นสมาพันธ์ ปลัด อบต.แห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการและพนักงานจ้างพนักงานจ้าง

แห่งประเทศไทย ที่เหลือก็เป็นของเทศบาลบ้าง อบจ.บ้างแต่ก็ต้องยอมรับว่าในการเคลื่อนไหวนั้น 2 องค์กรข้างต้นจะติดตาชาวท้องถิ่นที่

เป็น อบต.ที่เป็นท้องถิ่นส่วนใหญ่ ( อาจจะมีท่านอื่นบ้างแต่ผมไม่เห็นการเคลื่อนของท่าน อย่างน้อยก็ในสายตา )

 

 

     -->>  กลุ่มผลประโยชน์จำเป็นเสมอสำหรับสังคมการอยู่ร่วมกัน และเมื่อมีมากๆกลุ่ม ความเห็นต่างๆไม่ตรงกันก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดอันใด

สิทธิสวัสดิการของชาวท้องถิ่น นั้นใช้คำว่าต่อสู้เรียกร้องได้ เพราะถ้าไม่เรียกร้องฝ่ายที่มีอำนาจออกกฎเกณฑ์ต่างๆก็นิ่งเฉย อาจจะ

ไม่เข้าใจหรือไม่อยากทำให้ก็แล้วแต่ ทำให้หลายๆกรณีนั้นสิทธิท้องถิ่นที่ได้รับต่ำกว่า ก.พ.ทั้งๆที่กฏหมายได้บัญญัติว่าสิทธิสวัสดิการ

ต้องได้ไม่น้อยกว่าของข้าราชการพลเรือน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลจากข้างต้นก็ได้

 

 

 

 

       --->> กลุ่มผลประโยชน์ของพวกเราก็ได้เป็นตัวแทนพวกเราในการต่อสู้และเรียกร้องในเรื่องต่างๆและได้รับมรรคผลในเรื่องต่างๆ

ตลอดระยะการทำงาน เช่นค่าตอบแทนเงินประจำตำแหน่ง / การปรับหลักเกณฑ์ต่างๆในการเลื่อนระดับ 

/ การพยายามจะปรับใช้ฐานเงินเดือนของ ท้องถิ่นเอง ฯลฯ

ตอนนี้กลุ่มต่างๆที่ดำเนินการแทนพวกเรานั้นก็พยายามทำหน้าที่อยู่เสมอด้วยความเข้มแข็งเพราะข้อระเบียบกฎหมายต่างๆ

ไม่ใช่แต่ของท้องถิ่นแต่ทุกๆมีลักษณะเป็นพลวัตรจึงต้องมีการเคลื่อนไหวกันตลอด

 

 

 

-->> สมาพันธ์ปลัด อบต.แห่งประเทศไทย ในฐานะพี่ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับว่าได้เป็นสถาบันหลักของชาวท้องถิ่น

ก็ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันเช่นตอนนี้ก็เรื่อง พรบ.


งานบุคคลที่กำลังยกร่าง / การปรับฐานะ อบต.เป็นเทศบาล /เงินค่าตอบแทน หน.ส่วนผอ.กอง การเบิกจ่ายตรง

/การเตรียมตัวเข้าสู่แท่ง ฯลฯ ซึ่งก็ถือได้ว่าได้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังอย่างน่าชื่นชม

 

 

 


-->> ในส่วนสมาคมข้าราชการท้องถิ่นและพนักงานจ้างแห่งประเทศไทยนั้น ได้สังเกตูและรับทราบในการดำเนินการเคลื่อนไหว

หลักๆตั้งแต่ต้นอยู่ 2 เรื่องคือ เรื่องการเบิกจ่ายตรงและ พรบ.บริหารงานบุคคล พ.ศ... ตัวแรกนั้นก็ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน

ไปแล้วโดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2556 ส่วน พรบ.งานบุคคลนั้นส่วนสมาคมข้าราชการท้องถิ่น

และพนักงานจ้างแห่งประเทศไทย

โดยนายกสมาคม ฯป.พิพัฒน์และทีมงานก็มองให้มีการเคลื่อนไหวในกฎหมายหลักงานบุคคลท้องถิ่นตัวนี้ เพราะช้ามานานมาก 

เปลี่ยนยนมากี่รัฐบาลก็ยกร่างใหม่ตลอด ซึ่งตอนนี้


ก็ยกร่างอีก..ส่วนสมาคมข้าราชการท้องถิ่นและพนักงานจ้างแห่งประเทศไทย ก็ได้เสนอ ฯยื่นร่างกฎหมายเองโดยช่องทางของ 

ประชาชนซึ่งรวบรวมรายชื่อได้ 10,000 กว่ารายชื่อเพื่อนๆชาวท้องถิ่นคงได้รับหนังสือให้ปิดประกาศในคัดค้านรายชื่อแล้ว

และได้ยื่นหนังสือให้ผู้ตรวจการรัฐสภา ฯว่าพรบ.บริหารงานบุคคล ปี 2542 นั้นขัดรัฐธรรมนูญ ปี 2550 หลายๆประเด็น เช่นตัวแทน ก.อบต.

ไม่ครบ 4ฝ่าย ระบบพิทักษ์คุณธรรมไม่มี ตามกฎหมายกำหนดซึ่งทั้งการยื่นกฎหมายและยื่นให้มีการตรวจสอบนั้น

ก็คงไม่สามารถว่าเอาร่างของพวกเราที่ยื่นหรือให้ตรวจสอบเพื่อเอาผิดจริงๆ เป็นแค่นัยยะว่า ทางรัฐบาลเอง


ต้องมาดำเนินการเรื่องพวกนี้ให้ด้วยโดยเร้ว เพราะชาวท้องถิ่นเดือดร้อนมานานแล้ว

 

 

 

--->> ทั้งสมาพันธ์ปลัด ฯ สมาคมข้าราชการ ฯ และองค์กรอื่นๆนั้น ก็ต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อ ชาวท้องถิ่น

วิวาทะจากการจากมองมุมต่าง ต่างแนวคิดและมุมมอง

นั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่สิ่งตัดสินใครผิด ถูก เพราะมรรคผลก็คือท้องถิ่นนั่นเอง

 

 

 

 

 

" บ่นเองให้ตัวเองฟัง          เพราะอัตตาจึงมีตัวตน "


สายสิทธิ์ ไท้ทอง
นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี

เขียนโดย Administrator   
วันเสาร์ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 11:58 น.