ร่าง รธน.2558 เกี่ยวกับท้องถิ่น....โดย..ศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล 2

insti

 

 

ร่าง รธน.2558
เกี่ยวกับท้องถิ่น (ตอนที่ 3)

 


เรื่อง การแต่งตั้งขัาราชการโดยระบบคุณธรรม


...ไม่อยากจะพูดถึงปัญหาของนักการเมืองกับข้าราชการว่าส่วนมากมักจะเกิดการกระทบกันเป็นเรื่องธรรมดา ผัว-เมีย ประมาณนี้สุดท้ายมาลงที่แก้ไข รธน...


...แต่หากดูข้อเท็จจริงต้นตอของความขัดแย้ง มีที่มาจากนักการเมืองที่ไม่รู้จักคำว่าแพ้ แพ้ไม่เป็น รู้จักแต่คำว่าชนะเพียงสถานเดียว...


...หากดูจากผลสำรวจของประชาชนปี 2556 โดยเอแบคโพล ให้แก้นิสัยนักการเมืองร้อยละ 89.6 เปอร์เซนต์ และผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ปี 2555 ร้อยละ 45.59 เห็นว่านักการเมืองทุจริต/รองลงมาคือข้าราชการประจำ....


....ใน รธน.ฉบับนี้ คณะกรรมาธิพารยกร่างฯ ได้เสนอให้มีคณะกรรมการแต่งตั้งโยกย้าย ระดับปลัดอธิบดี ปลัดกระทรวง และรวมถึงข้าราชการท้องถิ่น โดยการโยกย้ายให้คณะกรรมการชุดนี้นำเอาระบบคุณธรรมมาใช้....


....ผมเห็นนักการเมืองท้องถิ่นบางคนใน สปช.ออกมาตีโพยตีพาย วันก่อนและในวันนี้ ก็เห็นนักการเมือง ระดับชาติ อย่างคุณอลงกรณ์ พลบุตร สปช.อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเน้นให้ความสำคัญประเด็นนี้....


...สปช.เป็นห่วงประเด็น คือ รัฐข้าราชการ กรณีที่มีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรมสำหรับชี 11 ปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า มีอยู่ประมาณ 33 ตำแหน่ง อาจจะกระทบการบริหารแผ่นดินของรัฐบาล จะไม่สามารถบริหารราชการให้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่า ข้าราชการจะกลายเป็นรัฐอิสระ อาจจะมีปัญหาต่อการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลในอนาคต การแต่งตั้งปลัดกระทรวง ควรเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ เสนอ ครม.เพื่อยึดโยงกับ ครม.ที่ดูแลกระทรวง....


....คือคำพูดของ สปช.อลงกรณ์ พลบุตร....


....การที่นักการเมืองท้องถิ่น แสดงความไม่พอใจในมาตรา 216(3)ให้มีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยใช้ระบบคุณธรรม...ก็ย่อมาจากการคณะกรรมการในส่วนกลางและภูมิภาค นั้นเอง.....


....ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับชาติ บางคนใน สปช.มองถึงอำนาจที่ตนเองเคยมี และอำนาจที่ตนเองได้รับ และก็ความเป็นประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง จึงยอมไม่ได้ที่จะให้มีการระบุใน รธน. ว่าจะต้องให้มีคณะกรรมการระบบคุณธรรมในการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ในร่าง รธน.ฉบับนี้.....
....หากระดับชาติ ไม่มี ระดับท้องถิ่น ก็คงจะพาลเสียไปด้วยเหมือนกับการยึดโยงกันและกัน....


....ในวันที่ 28 เมษายน 2558 ข่าวว่า สปช.จะหารือในประเด็นการแก้ไข และมีสิทธิขอแปรญัตติได้ เพียง 8 ญัตติ....


.....ผมตั้งความหวังไว้ที่ ท่าน สปช.อีก 248 คนที่เหลือและคณะกรรมาธิการยกร่าง 36 คน คงเข้าใจหัวอกข้าราชการประจำโดยเฉพาะข้าราชการท้องถิ่นตามชนบท ที่วางอำนาจในการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ ลูกจ้าง ให้นักการเมืองท้องถิ่นทั้งหมด และเราจะต้องอยู่พื้นที่ ถ้าหากเจอ ผู้บริหาร ที่ดี มีคุณธรรม ก็รอดตัวไป ถือว่าท่านทำบุญมาดีแต่ชาติก่อน......


.....แต่ถ้าหากเจอผู้บริหาร แบบนักเลง ผู้มีอิทธิพล คิดถึงแต่ตัวเองและพวกพ้อง ต่อให้มี 10 สมัชชาพลเมือง หรือ100 คณะกรรมการระบบคุณธรรมจะเอาอยู่หรือไม่.....


.....ยิ่ง แบบปากอย่าง ใจอย่าง แล้วก็นรกดีๆนี่เองครับ....


....ผมว่าเห็นผลสำรวจดัชนี ความสุขของ คนไทย จาก UN ล่าสุด จาก 158 ประเทศ (6 พันล้านคน)ปรากฎว่า ประชากร ประเทศไทย มีความสุขอยู่อันดับที่ 34 แพ้สิงคโปร์ 24 ประเทศเดียวในอาเชียน ชนะมาเลเชีย อันดับ 61 ชนะอินโดนิเชีย อันดับ 74 เวียดนาม อันดับ 75 ฟิลิปปินส์ อันดับ 90 สปป.ลาว อันดับ 99 พม่า อันดับ 129 และชนะกัมพูชา แบบขาดลอย ตกไปอยู่ อันดับ 145 ครับ....


.....ดังนั้น อย่าให้อันดับดัชนีความสุขของคนไทยเพิ่มจากเดิม เพราะมีข้าราชการ 1.98 คน และ ข้าราชการท้องถิ่นอีก 5-6 แสนคนหายไปเลยครับ...

 

 

ร่าง รธน.2558 
เกี่ยวกับท้องถิ่น (ตอนที่4)

 


ว่าด้วย ขนาดท้องถิ่นที่เหมาะสม ใครจะกำหนด ?


....หากดูตาม ร่าง รธน.มาตรา 212 ค่อนข้างชัดเจนว่าจะต้องบังคับให้ท้องถิ่นมีการปรับขนาดตัวเอง หรือยุบรวม เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม....อบต.หายไปแน่ๆ


....ทั้ง ประธานกรรมาธิการร่าง รธน.และ สปช.สายท้องถิ่นได้ยอมรับแล้วว่าจะต้องปรับท้องถิ่นให้มีขนาดที่เหมาะสมกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายในอนาคต.....


.....ประชากร รายได้ พื้นที่ หรือ วัฒนธรรม หรือความห่างไกลเฉพาะตัว ของท้องถิ่น เป็นต้น...


.....วันนี้ ยังไม่มีใคร กล้าที่จะฟันธงลงไป ว่า อบท.ที่มีขนาดที่เหมาะสมคือ เอาอะไรมาวัดกัน...


.....ที่ยอมรับได้ ณ เวลานี้ คือ หนึ่งตำบลควรมีเพียงหนึ่งท้องถิ่น เท่านั้น เช่น สุขาภิบาลเดิม ยกฐานะมาเป็นเทศบาลตำบลและมี อบต.ในตำบลเดียวกันแบบนี้ รวมกันให้เหลือ อบท.เดียว....


....การกำหนดขนาด อบท.ที่เหมาะสมนั้น แต่หนีไม่พ้นตัวชี้วัด เช่น รายได้ จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ และก็โยนให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่.....


....ตกลงแล้วใครจะเป็นผู้กำหนดกันแน่...


เช่น ถ้าหากเกณฑ์ ประชากร 5,000/7,000/10,000 หรือ 15,000 คน เป็น หรือกรณี เกณฑ์รายได้ เช่น รายได้ อบท.50 ล้าน/70 ล้าน/100 ล้าน หรือ 150 ล้านบาท หรือเอาตัวชี้วัดอื่น เข้ามาพิจารณาประกอบ...


...มีขนาดที่เหมาะสม ถ้าบอกว่า ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่....


.....ยังมองไม่เห็นว่าตกลงท้องถิ่นที่มีขนาดที่เหมาะสมนั้น จะไม่สามารถปฏิรูป อบท.หรือจะไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติได้เลย...เพราะอำนาจเป็นสิ่งหอมหวาน และการเสพติดอำนาจของคนบางกลุ่มในท้องถิ่นในช่วงเวลาที่ผ่านคงไม่มียาใดรักษาได้...


....เว้นเสียแต่จะไปรบกวน ท่าน หน.คสช.ใช้อำนาจมาตรา 44 ตาม รธน.ชั่วคราว แต่ก็ระวังดีๆก็แล้วกันช่วงนี้...อาจจะโดนตอกกลับแรงๆอะไรๆก็มาลงที่ผม....

 

 

 

....................................................

 

ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ตรงนี้อีกทีนะครับ เพื่อพวกเราชาวท้องถิ่นจะได้อ่านได้สะดวกอีกทาง

 

 

 

พบท้องถิ่นจังหวัดหารือแนวทางประเมิน ปลัด อบต.8ใหม่

ร่วมเรียกร้องระเบียบโบนัสท้องถิ่นทั่วประเทศ

โคงการศึกษาดูงาน หลวงพะบาง สปป.ลาว

: