การปฎิรูปท้องถิ่นไทย..ตอนนี้ พ.ศ. นี้ ?????

 

2073

 

 

การปฎิรูปท้องถิ่นไทย..ตอนนี้  พ.ศ. นี้ ?????

 

 

จากรายงานของคณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สภาปฎิรูปแห่งชาติพออ่านๆเนื้อหาแล้วพวก

เราเองที่ติดตาม
ข่าวสารก็พอจะมองภาพเห็นเนื้อหาบ้างว่าจะไปในทิศทางใด  แต่อยากสรุปความเห็นซัก

หน่อยเพื่อเป็นข้อสังเกตบางประการ

 

1.กรรมาธิการจะสรุปปัญหาท้องถิ่น 5เรื่องคือ โครงสร้าง,หน้าที่ / การกำกับดูแล /การคลังท้องถิ่น / บุคคล /

กฎหมายการ  
ปกครองท้องถิ่น

 

2.ก็จะมีข้อเสนอแนะต่างๆแบ่งออกเป็นด้านๆตามรายละเอียดด้านบน เช่น


2.1 โครงสร้างก็พูดถึงการควบรวมเพื่อเพิ่มศักยภาพท้องถิ่น / ยกฐานะ อบต.เป็นเทศบาล / มีองค์กรปกครอง

ท้องถิ่นสองรูปแบบ  ,การควบรวมองค์กรปกครองท้องถิ่น ,เปลี่ยนชื่อเป็น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น

 

บัญญัติใหม่ให้ท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญกำหนด ,มีคณะกรรมการกระจายอำนาจแห่งชาติ /


มีสภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ ( สทช) มีฐานะเทียบเท่ากระทรวงจะเข้ามาทำหน้าที่แทน

คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี ,

 

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  , กระทรวงมหาดไทย 

 

2.2การกำกับดูแลให้กำกับดูแลไม่ใช่บังคับบัญชา /มีศาลท้องถิ่น /มีสมัชชาพลเมืองมาช่วยทำข้อบัญญัติ

ตรงนี้ต้องดูว่า 
หมายความว่าไง  แบบไหน ทำอย่างไร / การถอดถอนตรวจสอบ โดยประชาชน อย่างไร

 

2.3การคลังท้องถิ่น เพิ่มฐานภาษีให้ท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้น เช่นภาษีนิติบุคคล ก็จะมีการแบ่งสันปันส่วนให้

ท้องถิ่นด้วย สัดส่วนภาษีมูลค่า  
เพิ่มปัจจุบัน  ท้องถิ่นได้ประมาณ  22%ก็จะได้เพิ่มขึ้นเป็น 40 % รอดูกัน

ปกติส่วนกลางจะไม่ยอมเฉือนทรัพยากรการบริหารมาให้คนอื่น 
ง่ายๆ และเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากภาษีจัดสรร

ต่างๆให้มากขึ้น ก็มาจากรายได้ อปท.เราไม่พอใช้นั่นเอง

 

 

2.4 งานบุคคล ปัญหา มี ก.หลายคณะ / ความอ่อนแอระบบคุณธรรม มีการเรียกรับเงินในการบรรจุแต่งตั้ง

/ ปัญหาภาระค่าใช้  
จ่ายด้าน  บุคคลากร / ปัญหาการโอนย้าย/ ปัญหาการกำกับดูแลอยากให้พวกเรามอง

ตรงนี้เป็นหลักในการปฏิรูปท้องถิ่นเพราะเกี่ยวกับพวกเรา  
โดยตรงจริงอยู่ ประเด็นอื่นๆก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อน

กว่ากัน  แต่การบริหารงานบุคคลจะทำให้ระบบที่ใช้คนในองค์กรเกิดประสิทธิภาพและ 
ประสิทธิผล เมื่อเพิ่ม

มิติต่างๆจากการปฏิรูปเข้ามา  ก็จะทำให้ เนื้อหาการปฏิรูปท้องถิ่นเกิดมรรคและผล ไม่อย่างนั้นวิ่งตามทุก

ประเด็น 
ก็จะไม่ได้อะไรซักอย่าง ซึ่งปัญหาที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการ ก็ประมวลได้แบบนี้ว่าต้องยึดหลัก

ความสามารถ / สมรรถนะ / ความยืดหยุ่นการมีส่วนร่วม โดย 
กำหนดให้มีการตรวจสอบpre และ

post Audit ผ่านคณะกรรมการ 2 คณะ  
คือคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่น ( ก.ถ.) เป็น pre audit

และคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมท้องถิ่น ตรรกะปัญหามองถูกแล้ว แต่วิธีแก้ไข มันซับซ้อนเพราะคน

ทำให้ระบบเสีย  เป็น post audit เป็นผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจ ผู้บริหาร 

 

2.5 ปฏิรูปกฎหมายท้องถิ่น เรื่องอำนาจหน้าที่ / ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นด้วยกันและท้องถิ่นกับชุมชน /

รายรับและรายได้ท้องถิ่น 

 

2.6 ระเบียบท้องถิ่น ตรงนี้คืองานที่เราปฏิบัติมาประจำและเกิดความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ก็ดีนะ

ครับที่ คณะกรรมาธิการแยก 
ประเด็นออกมาจาก  กฎหมายเพราะเป็นรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติงานจริง

ถ้ายังคลุมเครือก็จะทำให้กฎไกการบริการสาธารณะหยุด  
และเสียได้เหมือนกันทั้งๆที่การปฏิรูป   ส่วนอื่นๆนั้น

ได้รับการ   เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว ในประเด็นนี้หลักๆคือ / การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ 
อปท.ที่เกิดการ

ตีความจนมีการทักท้วงจากหน่วยงานผู้ต
รวจสอบแทบจะทุกเรื่อง จนต้องทำแต่โครงสร้าวพื้นฐานอย่างเดี่ยว

ถึงจะบอกว่าทำงานได้ถูกต้อง / ระเบียบต่างๆบังคับใช้คลุมเครือ  
ล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงในส่วน

อื่นๆ ในส่วนนี้ก็คืองานทั้งหมดที่ อปท.เราทำอยู่นั่นเอง /ทั้งการเดินทางไปราชการ /อบรม /

กำหนดราคา 
กลาง /อปพร /ทุนการศึกษา   ฯลฯ  ก็คงดีขึ้นซึ่งก็ควรจะมีการแก้ไขมานานแล้ว เพราะตัวที่

ใช้อยู่มัน  หมดอายุการใช้งานมาเป็นสิบ ปีแล้วก็ยังใช้อยู่  
จะแก้ไขก็ยุ่งยากไปหมด การทำงานของ

หน่วยปฏิบัติก็   ทำให้เกิดการรวนทั้งระบบเพราะ  เครื่องมือที่ใช้มันผิดประเภทและหมดอายุ  
นานแล้ว

 

 

              ซึ่งนอกจากรัฐธรรมนูญที่ต้องตราหลายๆเรื่องเข้าไป เช่นอำนาจหน้าที่ อปท.ว่าทำอะไรได้บ้าง

และไม่ต้องมานั่งตีความอีก และอื่นๆอีกมากที่ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญ ยังมีพระราชบัญญัติที่จำเป็นที่ต้อง

ตราเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น

 

จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะตอบโจทก์ของสมมุติฐานของปัญหาท้องถิ่นที่ถูกตั้งไว้จากคณะ

 

กรรมาธิการ  ที่พวกเราต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิดคือ

 

 

           - พระราชบัญญัติการกระจายอำนาจแห่งชาติ พ.ศ.....

 

           - พระราชบัญญัติองค์กรบริหารท้องถิ่น พ.ศ....

 

           - พระราชบัญญัติการบริหารงานบคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ....

 

           - พระราชบัญญัติการเงินการคลังองค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ....

 

       ซึ่งต้องออกให้เสร็จสิ้นเมื่อกฎหมายแม่คือรัฐธรรมนูญได้มีผลใช้บังคับแล้ว

 

 

 

             การเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นในครั้งนี้เมื่อดูบริบทต่างๆแล้ว  ก็คือปัญหาของท้องถิ่นไทยในช่วง 20

ปีที่ผ่านมา  มันหมกหมมจนเดินต่อไปไม่ได้แล้ว  ตอนนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ท้องถิ่นได้รับการสังคายนา

มาเราได้ลองผิดมานาน 
จนระบบมันเดินต่อไปไม่ไหว มาทุกด้านจะเอาคนลงมาก็มีการ  เรียกรับเงิน  

ได้คนไม่มีความสามารถ/ การทำงานตามหน้าที่ต่างๆต้องตีความทุกว่าทำได้ไหม /  
เรื่อง ราย

 

ได้แทบไม่  พอยาไส้ถ้าเป็นเอกชนเจ๊งไปนานคนล้นสำนักงาน แต่ไม่มีงบพัฒนาอะไรได้เลย ก็หวังว่าคนที่


มีหัวใจเป็น   ท้องถิ่นคงต้องสนใจอย่างใกล้ชิด 
เพราะรัฐธรรมนูญ กฎหมาย   ต่างๆของชาวท้องถิ่นก็จะ

 

ทยอยให้เห็น   หน้าค่าตา   ออกมาเรื่อย ถ้าเราเองยังอยู่บ้านหลังนี้ก็ต้องช่วยกัน

ดูแล 
และรักษาเพื่อความสง่างามและเพื่อประชาชนที่จะได้รับอานิสสงค์ในการปฏิรูปในครั้งนี้

 

 


สายสิทธิ์ ไท้ทอง


นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี


9 เมษายน 2558

 

 

 

 

 

 

พบท้องถิ่นจังหวัดหารือแนวทางประเมิน ปลัด อบต.8ใหม่

ร่วมเรียกร้องระเบียบโบนัสท้องถิ่นทั่วประเทศ

โคงการศึกษาดูงาน หลวงพะบาง สปป.ลาว

: